มีการบันทึกประวัติศาสตร์โลกเกี่ยวกับการทำสงครามที่กินเวลานาน และสร้างความเสียหายไปในวงกว้างตั้งแต่ สิงหาคม ค.ศ. 1914 เป็นต้นมา ที่ให้ชื่อเรียกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 และสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยชนวนแห่งสงครามทั้ง 2 ครั้งนั้นล้วนมีต้นตอมาจากการต้องการยึดครองพื้นที่และต้องการแสดงความมีอำนาจ จึงเป็นเหตุให้นำไปสู่การต่อสู้ระหว่างกลุ่มมหาอำนาจต่าง ๆ ในช่วงเวลาเหล่านั้น เป็นผลทำให้เกิดความสูญเสียทุกด้าน แม้จะมีการก่อสนธิสัญญาเพื่อระงับการทำสงครามอยู่หลายฉบับ แต่ก็ยึดถือไว้ใช้ได้ไม่นานสุดท้ายก็ยังมีข้อขัดแย้งจนสงครามถูกปลุกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1945 ในชื่อเรียกว่า สงครามเย็น โดยลักษณะการทำสงครามจะต่างไปจาก 2 ครั้งแรก ซึ่งจะมีเรื่องราวเป็นอย่างไรตามไปดูกัน
Cold War เปิดเกมสงครามจิตวิทยาระดับโลก
เมื่อได้ยินชื่อ Cold War เราอาจจะยกมาเป็นคำล้อเลียนว่าทำสงครามอยู่ในพื้นที่อันมีความเย็นปกคลุมหรืออย่างไร แต่ในความเป็นจริงด้านประวัติศาสตร์แล้ว Cold War เป็น นิยาม สงคราม เย็น ที่ประเทศมหาอำนาจ 2 ฝ่ายนำเอาจิตวิทยาขั้นสูงมาใช้ในการทำสงคราม โดยแฝงตัวมาเป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลังประเทศที่มีอุดมการณ์ไปในทางเดียวกับตนเอง เพื่อตอบโต้อีกฝ่ายที่มีอุดมการณ์แตกต่างกัน ซึ่งขั้วมหาอำนาจที่มีอิทธิพลในขณะนั้นทั้ง 2 ฝ่ายคือ สหรัฐอเมริกา กับสหภาพโซเวียต (ในช่วงเวลานั้น)
แม้ว่าจะไม่ได้ต่อสู้ด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์มหาศาลเหมือนสงครามโลกทั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 แต่การต่อสู้ในลักษณะของ Cold War ก็เต็มไปด้วยความกดดัน เพราะทั้ง 2 ขั้วอำนาจไม่ได้โต้ตอบกันซึ่งหน้าแต่อาศัยประโยชน์จากประเทศที่อยู่ภายในขอบเขตอิทธิพลของตนเองแทน ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้านอาวุธ ด้านการทหารในยามที่กลุ่มประเทศในเครืออำนาจของตัวตนเองต้องทำสงคราม ซึ่งทำให้หน้าสงครามแบบตัวแทนที่มหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่ายไม่ต้องลงมาประจัญหน้ากันโดยตรง แต่ให้ประเทศอื่นออกไปทำสงครามในลักษณะของตัวแทนนั่นเอง
นอกจากนี้ทั้งสหรัฐอเมริกา กับสหภาพโซเวียตเองก็มีความพยายามที่จะแข่งขันกันในด้านอื่นด้วย ได้แก่
– การแข่งขันด้านอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ระหว่างแนวทางเสรีประชาธิปไตยจากสหรัฐอเมริกา กับแนวทางคอมมิวนิสต์จากสหภาพโซเวียต
– การสร้างพันธมิตรทางการทหาร เป็นข้อสัญญาที่ตกลงร่วมกันระหว่างประเทศเพื่อเป็นโยชน์ในการช่วยเหลือทางทหารของประเทศในกลุ่มเดียวกัน และป้องกันไม่ให้เกิดการรุกรานซึ่งกันและกัน
– การแข่งขันพัฒนาอาวุธทางการทหาร ซึ่งในช่วงที่เกิด Cold War มีการแข่งขันผลิตอาวุธนิวเคลียร์
– การแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีด้านอวกาศ
เหตุการณ์สำคัญในช่วงเวลาของ Cold War
อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่าการเกิด Cold War มาจากความต้องการของขั้วมหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่ายคือ สหรัฐอเมริกา กับสหภาพโซเวียตที่ต้องการเข้ามามีอิทธิพลในขณะนั้น ซึ่งตลอดระยะเวลามากกว่า 40 ปีที่ตกอยู่ใน ภาวะ สงครามเย็น ก็มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นที่พลิกหน้าประวัติศาสตร์โลกอยู่หลายเหตุการณ์เหมือนกัน ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านั้นส่งผลทั้งในด้านดีและด้านที่ไม่ดีต่อสังคมโลก ว่าแล้วก็ตามไปดูดีกว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นบ้าง
– เกิดวิกฤตการณ์เบอร์ลิน ที่ทำให้เกิดการแบ่งแยกกรุงเบอร์ลินออกเป็น 2 ส่วน ประเทศเยอรมันจึงถูกแบ่งเป็นเขตการปกครอง 2 แนวทางคือฝั่งตะวันตกเป็นกลุ่มของคอมมิวนิสต์ และฝั่งตะวันออกเป็นกลุ่มของเสรีประชาธิปไตย จนสหภาพโซเวียตได้ก่อกำแพงขึ้นมากั้นอาณาเขตของประเทศเยอรมันทั้ง 2 ฝั่งให้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน ซึ่งกำแพงนี้มีชื่อเรียกว่ากำแพงเบอร์ลิน โดยวิกฤตเบอร์ลินที่เกิดขึ้นทำให้สถานการณ์ Cold War มีความตึงเครียดสูงมากทีเดียว
– เกิดวิกฤตการณ์เกาหลี เนื่องจากรัฐบาลเกาหลีเหนือที่มีแนวทางของคอมมิวนิสต์ต้องการรวมเกาหลีใต้ที่เป็นแนวทางประชาธิปไตยเข้ามาเป็นระบบแบบเดียวกัน เมื่อกลุ่มมหาอำนาจถอนกำลังออกไปแล้วเกาหลีเหนือจึงรุกล้ำเข้าเขตแบ่งการปกครองของเกาหลีใต้ จนเป็นเหตุทำให้สหรัฐอเมริกามองว่าถูกท้าทายจากกลุ่มคอมมิวนิสต์ จึงทำให้เกิดการตอบโต้เกาหลีเหนือกลับไปด้วยนโยบายทางทหาร แต่เหตุการณ์บานปลายเพราะมีประเทศจีนเข้ามาร่วมตอบโต้สหรัฐอเมริกาด้วย และในเวลาต่อมาสหภาพโซเวียตจึงเสนอให้เจรจาสงบศึกเพื่อไม่ให้ขัดแย้งยืดเยื้อ
– เกิดวิกฤการณ์คิวบา เป็นความขัดแย้งภายในคิวบาแต่ส่งผลกระทบต่อมหาอำนาจที่ให้การสนับสนุน เมื่อผู้นำคิวบาคนเดิมที่ถูกสนับสนุนจากฝั่งอเมริกาโดนยึดอำนาจโดยผู้นำคนใหม่ที่ได้รับการสนับสนุนจากโซเวียต แต่เดิมคิวบาเป็นประเทศที่อยู่ในเขตอิทธิพลของอเมริกาแต่เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้จะทำให้อำนาจของอเมริกาลดลง จึงเกิดการต่อรองระหว่างอเมริกากับโซเวียตโดยมีคิวบาเป็นสิ่งประกัน แม้ในตอนแรกโซเวียตจะมั่นใจในไพ่ที่เหนือกว่าของตนเองแต่ในสถานการณ์ตอนนั้นก็ถือประเมินอเมริกาพลาดไป จึงทำให้โซเวียตต้องยอมล่าถอยในการต่อรองนี้ไป
สิ้นสุดวิกฤต สงครามเย็น ที่น่าอึดอัด
สถานการณ์ Cold War อันน่าอึดอัดและกินเวลาหลายทศวรรษได้สิ้นสุดลง เมื่อสหภาพโซเวียตถึงการล่มสลายลง โดยการล่มสลายของฝ่ายสหภาพโซเวียตนั้นก็เกิดจากปัญหาภายในเสียเอง เป็นผลทำให้อำนาจของสหภาพโซเวียตหายไปแทบจะทันที แม้จะมีการเกิดใหม่ของมหาอำนาจคอมมิวนิสต์อย่างสหพันธรัฐรัสเชียแต่ก็ยังไม่มีขุมพลังมากพอ จึงทำให้กลุ่มประเทศที่ยึดแนวทางคอมมิวนิสต์ไม่ค่อยมีบทบาทในช่วงสิ้นสุดสถานการณ์ Cold War นั่นเอง จึงทำให้สหรัฐอเมริกายืนพื้นเป็นมหาอำนาจเพียงผู้เดียวในช่วงเวลานั้น
ซึ่งหลังจากสิ้นสุด Cold War ประเทศในแถบยุโรปตะวันออกก็หลุดพ้นจากการปกครองแบบคอมมิวนิสต์หลายประเทศ รวมไปถึงประเทศเยอรมันที่เคยถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนก็ถูกผนวกเป็นประเทศเดียวกัน และการคลายตัวของระบอบคอมมิวนิสต์ที่มีผลต่อหลาย ๆ ประเทศนี้เอง จึงทำให้เกิดเสรีในด้านการค้าและการลงทุนมากขึ้น ทำให้ระบบเศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นมากกว่าเดิม อีกทั้งการปกครองระบบประชาธิปไตยก็ได้รับความสนใจมากขึ้นด้วย
สรุป
จากข้อมูลข้างต้นจึงสะท้อนให้เห็นว่า สงครามเย็น ก็ทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนสังคมในระดับโลกที่ส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน อย่างเช่นการแข่งขันด้านเทคโนโลยีทำให้ถือกำเนิดยานอวกาศ ดาวเทียม และเครื่องมือเพื่อการสำรวจอวกาศอีกหลายอย่าง เป็นต้น แต่ถึงอย่างนั้นบาดแผลที่เกิดจากสงครามก็ยังเป็นสิ่งที่เยียวยาไม่ได้ทั้งหมด แม้ว่าโลกจะพัฒนาไปสักเท่าใดแต่ชนวนเหตุที่จะเกิดสงครามครั้งใหม่ก็ยังมีอยู่เสมอ Ufabet เว็บหลัก
เครดิตจาก : แทงบอลออนไลน์ สล็อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์