ประวิตศาสตร์

ย้อนรอย สงครามโลกครั้งที่ 1 มหาสงครามครั้งใหญ่ที่โลกจารึก

หากคุณเป็นคนที่ชอบติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ หรือการเกิดสงครามจะทราบว่ามีหลายสาเหตุหรือชนวนเหตุมากมายที่ก่อให้เกิดสงคราม ไม่ว่าจะเป็นลัทธิจักรวรรดินิยมหรือเป็นยุคที่อำนาจทางทหารเฟื่องฟูอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้มีการบังคับให้เมืองที่มีความแข็งแกร่งน้อยกว่ามารวมเข้ากับเมืองของตน นอกจากนั้นยังเป็นการขัดแย้งทางอุดมการณ์ ความเชื่อทางศาสนา รวมถึงสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย ทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ เหล่านี้ล้วนเป็นชนวนเหตุทำให้เกิดสงครามได้ทั้งนั้น เช่นเดียวกับการเกิด สงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีชนวนเหตุเริ่มต้นจากการล่าอาณานิคมหรือต้องการจะบังคับให้เมืองที่แข็งแรงน้อยกว่ายินยอมอยู่ใต้การปกครองของเมืองที่มีความแข็งแกร่งที่มากกว่า  เพื่อให้คุณได้ทำความเข้าใจกับสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือว่าสงครามที่สร้างความเปลี่ยนแปลงส่งผลมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้

สงครามโลกครั้งที่ เกิดขึ้นได้อย่างไร

สงครามโลก ครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อใด…ชนวนระเบิดที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 มาจากการที่อาร์ชดยุก ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทแห่งออสเตรียถูกลอบปลงพระชนม์ในขณะที่เสด็จเดินทางมาเยือนกรุงซาราเยโว หลังจากที่มีความต้องการจะรวมประเทศ แต่เซอร์เบียหรือประเทศที่อยู่ใกล้กับกรุงซาราเจโวซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวสลาฟที่ก็มองว่าคนในกรุงซาราเยโวก็เป็นชาวสลาฟเช่นกัน จึงไม่เห็นด้วยกับการจะรวมประเทศ จนทำให้เกิดการตกลงกันไม่ได้กลายเป็นสงคราม เรียกว่าเป็นมหาสงครามที่มาจากความขัดแย้งภายในประเทศ การต้องการแย่งชิงอำนาจ รวมถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศและเชื้อชาติ ทำให้มีการส่งทหารไปสู้รบ ส่วนพลเรือนในพื้นที่เสียชีวิตกันเป็นจำนวนมาก สงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุ เกิดจากการตกลงกันไม่ได้นี่เอง จึงทำให้เกิดการสู้รบกันตั้งแต่ปี 2457 ถึง 2461 ช่วงเวลาการสู้รบนี้ หลายภูมิภาคทั้งทวีปยุโรปอเมริกาเหนืออเมริกาใต้แอฟริกาใต้ ลามไปที่แปซิฟิก จีน ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบล้านศพ ซึ่งมีการแบ่งฝ่ายเป็นออสเตรเลีย ฮังการี ตุรกี เยอรมัน ส่วนอีกฝ่ายคืออังกฤษฝรั่งเศสญี่ปุ่นจีน และยังมีประเทศอื่น ๆ อีกด้วย 

ซึ่งเมื่อย้อนดูปัจจัยที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งนี้ไม่เพียงมาจากชนวนที่มีการลอบปลงพระชนม์มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ยังมีปัจจัยอีกหลายด้าน โดยส่วนใหญ่มาจากแนวคิดชาตินิยมที่ไม่ตรงกัน รวมถึงการต้องการขยายอำนาจและแย่งชิงดินแดนของประเทศมหาอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นลัทธิชาตินิยม ลัทธิจักรวรรดินิยม ลัทธินิยมทหาร เหล่านี้มีผลทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งยากที่แต่ละฝ่ายจะโอนอ่อนต่อกันเพราะเชื่อว่านี่คือการเสียศักดิ์ศรี จึงทำให้เกิดความสูญเสียและหายนะตามมา 

ซึ่งจริง ๆ แล้วก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ ก็มีการเกิดสงครามย่อย ๆ เกิดมาก่อนหน้านั้นเรียกว่าสะสมกันเลยทีเดียว ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างฝรั่งเศสกับเยอรมันที่เคยรบกันในสงครามรัสเซีย เยอรมันเคยไปยึดบางพื้นที่ของฝรั่งเศส การบังคับให้เซ็นสนธิสัญญาสงบศึกที่ไม่เป็นธรรม ฝรั่งเศสก็เกิดความแค้นเหมือนโดนกดขี่ กลายเป็นความแค้นว่าถ้ามีโอกาสก็จะกลับมาแก้แค้น นอกจากนั้นในยุคนั้นก็มีการสะสมอาวุธทำให้แต่ละประเทศไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ทั้งยังเป็นยุคจักรวรรดินิยมเป็นช่วงการล่าอาณานิคมต่าง ๆ ทำให้เกิดการทะเลาะกัน ต้องการอยากจะยึดพื้นที่  

การรบในสงครามโลกครั้งที่

การสู้รบในสงครามโลกครั้งที่ 1 เรียกได้ว่าเป็นรวมทุกมิติของการรบอย่างแท้จริง เพราะมีทางการรบทางอากาศทางบกในสนาม ทางเรือคือบนผิวน้ำและแม้แต่ทางใต้ดินก็สู้รบกัน หลายประเทศแข่งขันการประดิษฐ์และผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อมาสู้รบทำลายล้าง และต่างฝ่ายก็ยังหาวิธีป้องกันพรมแดนของตนด้วย อย่างเบลเยียมและฝรั่งเศสได้สร้างป้อมคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อสกัดการบุกรุกของฝ่ายตรงข้าม ในขณะที่เยอรมันเลือกใช้ปืนใหญ่ที่สามารถยิงได้ไกลถึง 120 กิโลเมตร การสู้รบเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยังมีการประดิษฐ์รถถังเครื่องบินต่อสู้กันอย่างบ้าคลั่ง มีการประดิษฐ์เรือดำน้ำเพื่อสุ่มโจมตีเส้นทางลำเลียงของข้าศึก เรียกได้ว่าสงครามครั้งนี้มาครบทำให้เห็นวิวัฒนาการของเทคโนโลยีรวมถึงอุตสาหกรรมทางทหาร สะท้อนให้เห็นลักษณะของสงครามในตอนนั้นได้อย่างแท้จริง 

ทำไมสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการเรียกขานกันว่ามหาสงคราม

ข้อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นความขัดแย้งขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วยุโรปขึ้นมาเป็นครั้งแรกทำให้สงครามครั้งนี้เป็นมหาสงครามที่สร้างความหายนะ มีการเปรียบเทียบกับสงครามอามาเกดอนซึ่งอยู่ในคัมภีร์ไบเบิล ว่าเป็นสงครามระหว่างความดีกับความชั่วที่เกิดขึ้นในยุคสุดท้ายของโลก จึงไม่แปลกใจว่าทำไมสงครามโลกครั้งนั้นมีคนเรียกขานกันว่าเป็นมหาสงคราม

ไทยเป็นอย่างไรในสงครามโลกครั้งที่

จริงอยู่ว่าการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ห่างไกลจากประเทศไทยหรือที่เราเรียกกันว่าสยามในเวลานั้น อย่างไรก็ตามเพราะเป็นมหาสงครามประเทศไทยก็ยังได้รับรู้และได้รับผลพวงภายหลังการเกิดสงครามในครั้งนั้น ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปในอดีตสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ในช่วงสงครามโลกทรงเผชิญกับพระราชภาระหนักหน่วงที่จะต้องนำพาชาวสยามล่องเรือที่ฝ่าสงคราม เรียกได้ว่าแม้ไม่ได้อยู่ในใจกลางสงครามก็ได้สัมผัสกับกลิ่นอายสงครามที่เต็มไปด้วยความหวาดหวั่น และอีกทางหนึ่งหากย้อนกลับไปประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าทหารไทยไปยุโรปในสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเป็นการไปโดยที่ไม่ได้เกณฑ์ทหาร แต่เป็นการสมัครมาเองหรือเป็นทหารอาสา 

ความเปลี่ยนแปลงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ปิดฉาก

เศรษฐกิจทั่วโลกครั้งพังพินาศก็ใช้เงินในการอาวุธ ยุทโธปกรณ์ ทำให้ออสเตรียกับฮังการีแยกประเทศ ต่างประเทศเปลี่ยนการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เช่น ประเทศเยอรมัน ออสเตรีย ตุรกี นอกจากนั้นยังมีประเทศเกิดใหม่อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นยูโกสลาเวีย เชโกสโลวาเกีย โปแลนด์ ลัตเวีย 

นอกจากนั้นสงครามที่ส่งผลต่อชีวิตคนทั่วโลกมากที่สุด เพราะมีคนเข้าร่วมสงครามถึง 70 ล้านคน หลังจากสงครามตายไป 9 ล้านคน มีการสูญหาย 40 ล้านคน ลองนึกดูว่าผู้คนสูญหายจำนวนมากจะเกิดความโกลาหลขนาดไหนเพราะเพียงคนเดียวสูญหายก็เป็นเรื่องใหญ่

และในสงครามโลกครั้งที่ 1 ยังสะท้อนให้เห็นด้วยว่า เป็นยุคชาตินิยมเฟื่องฟูสุดขีด ในยุคนั้นผู้คนจะรู้สึกรักชาติตัวเอง ทำให้มีความฮึกเหิมในการสู้รบเพื่อรักษาชาติ ความรักชาตินี้เองทำให้เกิดเป็นชนวนเป็นสงครามขึ้นครั้งแรก และประเทศไทยในช่วงนั้นก็ได้รับอิทธิพลไม่แพ้กันคือมีความชาตินิยม อบ่างบทพระราชนิพนธ์เรื่องพระร่วงก็มีการชูเรื่องชาตินิยมอยู่ด้วย Ufabet เว็บหลัก

ย้อนรอยสงครามโลกครั้งที่ 1 มหาสงครามครั้งใหญ่ที่โลกจารึก

Credit By : Ufabet